สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 24 ต.ค. 66 เวลา 7.00 น.

  • สภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทยตอนล่างทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
    คาดการณ์: ช่วงวันที่ 25 – 29 ต.ค. 66 ประเทศไทยตอนบน
    มีฝนเพิ่มขึ้น โดยฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 23 ต.ค. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 6,416 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้
     ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 62,193 ล้าน ลบ.ม. (76%)
     ปริมาณน้ำใช้การ 38,024 ล้าน ลบ.ม. (66%)
     + เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่
    เฝ้าระวังน้ำมาก 10 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา แม่มอก และบึงบอระเพ็ด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ห้วยหลวง หนองหาร และอุบลรัตน์ ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล
    ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย
    เฝ้าระวังน้ำน้อย 3 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา ภาคตะวันออก : คลองสียัด
    โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1) วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 2) ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ 3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่
     + น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
     น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในช่วง
    1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสตูล
  • พื้นที่ชุมชน รวม 4 จังหวัด 17 อำเภอ 79 ตำบล 472 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,203 ครัวเรือน ดังนี้
  • ภาคเหนือ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี และร้อยเอ็ด ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
    พื้นที่เกษตรกรรม รวม 15 จังหวัด 244,100 ไร่ ได้แก่ จ.อุทัยธานีพระนครศรีอยุธยา ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี นครปฐม กรุงเทพฯ หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
  • ปัจจุบัน (วันที่ 23 ต.ค. 66) อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 966.56 ล้าน ลบ.ม. (100.68%) และมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำฯ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพื่อเป็นการควบคุมระดับน้ำและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม กรมชลประทาน จึงดำเนินการปรับเพิ่มการระบายน้ำ จากอัตรา 8.64 ล้าน ลบ.ม./วัน เป็นอัตรา 12.96 ล้าน ลบ.ม./วัน ในวันที่ 23 – 29 ต.ค. 66 โดยทยอยปรับเพิ่มระบายน้ำแบบขั้นบันไดอย่างเหมาะสม ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักเพิ่มสูงขึ้นจากระดับปัจจุบันอีกประมาณ 0.30-0.50 เมตร โดยระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นยังอยู่ในลำน้ำและไม่ส่งผลกระทบให้แม่น้ำป่าสักเกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่ง
  • กรมชลประทาน เข้าดำเนินการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของน้ำ และการระบายน้ำบริเวณคลองผักไห่-เจ้าเจ็ด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
    กองทัพบก ร่วมกับกรมชลประทาน ก่อแนวกระสอบทรายเป็นแนวผนังกั้นน้ำ จำนวน 600 กระสอบ บริเวณริมแม่น้ำมูล เพื่อป้องกันน้ำจากแม่น้ำมูลล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมชุมชนท่ากอไผ่ ต.วารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี