กรมปศุสัตว์ กรมควบคุมโรค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผลักดันการสร้างจังหวัดภูเก็ตปลอดโรคพิษสุนัขบ้าระดับจังหวัด แห่งแรกในประเทศไทย
แห่งแรกในประเทศไทย
นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้รับมอบหมายจากนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์ณรงค์ เลี้ยงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ผู้แทนสำนักงานปศุสัตว์เขต ๘ ปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต ด่านกักกันสัตว์จังหวัดภูเก็ต เข้าพบนายดนัย สุนันทารอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ร่วมผลักดันการสร้างจังหวัดภูเก็ตปลอดโรคพิษสุนัขบ้าระดับจังหวัดแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งนำโดยนายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายธีรยุทธ สำราญทรัพย์ รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ฯลฯ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เพื่อประชุมหารือการผลักดันให้พื้นที่จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดปลอดโรคพิษสุนัขบ้าแห่งแรกในประเทศไทยภายในปี ๒๕๖๖ ตามพระปณิธานของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย ภายในปี ๒๕๖๘ เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมสูงที่ไม่พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้ามานานกว่า ๑๕ ปี พร้อมลงพื้นที่เยี่ยมชมจุดตั้งหน่วยทำหมันควบคุมประชากรสุนัขและแมวที่เป็นความร่วมมือกันระหว่างเทศบาลเมืองกะทู้และมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย
นายสัตวแพทย์บุญญกฤช
ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ระดับพื้นที่ปลอดโรค
พิษสุนัขบ้าในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น ๕ ระดับ ได้แก่ ระดับปลอดโรคพิษสุนัขบ้า
คือ พื้นที่ที่ไม่พบรายงานโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและสัตว์เป็นระยะเวลามากกว่า ๒ ปี
และได้รับการรับรองเป็นพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าผ่านคณะกรรมการประเมินและรับรองฯ ระดับ Afree คือ พื้นที่ที่ไม่พบรายงานโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและสัตว์เป็นระยะเวลามากกว่า
๒ ปี ระดับ A คือ
พื้นที่ที่ไม่พบรายงานโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและสัตว์เป็นระยะเวลาน้อยกว่า ๒ ปี ระดับ B คือ พื้นที่ัที่ยังพบรายงานพบสัตว์ติดเชื้อโรคพิษสนัขบ้าในช่วงระยะเวลา
๑ ปีที่ผ่านมา และ และระดับ C คือ พื้นที่ที่ยังพบรายงานคนเสียชีวิตด้วยโรคพิษสนัขบ้าในช่วงระยะเวลา ๑ ปีที่ผ่านมา โดยพื้นที่ระดับ Afree ที่เข้ารับการประเมินและรับรองเป็นพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้านั้นจะต้องเริ่มต้นจากการประเมินและรับรองในระดับท้องถิ่น
สะสมขึ้นมาเป็นระดับอำเภอ และระดับจังหวัดตามลำดับ ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดทำหนังสือคู่มือการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า
โดยคณะกรรมการและคณะทำงานจัดทำคู่มือฯ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญจากกรมปศุสัตว์
กรมควบคุมโรค และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและได้มีการเผยแพร่ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งแล้ว
/ทั้งนี้…
ทั้งนี้ นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประเมินและรับรองพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าระดับท้องถิ่นและอำเภอ จะเป็นการประเมินและรับรองผ่านคณะกรรมการประเมินและรับรองฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัดฯ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจะมีอำนาจหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการรับรองอำเภอปลอดโรคพิษสุนัขบ้าด้วย ทั้งนี้ เมื่อทุกท้องถิ่นได้รับการรับรองเป็นท้องถิ่นปลอดโรคพิษสุนัขบ้า และสามารถรวบรวมผลของระดับท้องถิ่นในอำเภอนั้นๆ เพื่อมาขอประเมินและรับรองในระดับอำเภอได้สำเร็จจนได้รับกสรรับรองเป็นอำเภอปลอดโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว ก็สามารถรวบรวมผลและดำเนินการต่อไปในระดับจังหวัดได้เมื่อทุกอำเภอในจังหวัดนั้นๆ ได้รับการรับรองเป็นอำเภอปลอดโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว โดยที่การประเมินและรับรองจังหวัดปลอดโรคพิษสุนัขบ้า คณะกรรมการประเมินและรับรองจังหวัดปลอดโรคพิษสุนัขบ้าจะเป็นการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ที่มีศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเป็นองค์ประธาน โดยในการรับรองจังหวัดปลอดโรคพิษสุนัขบ้าจะเป็นการรับรองร่วมกันระหว่าง 3 หน่วยงาน โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำ (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินและรับรองจังหวัดปลอดโรคพิษสุนัขบ้าดังกล่าวเสนอขึ้นเพื่อพิจารณาและแต่งตั้งโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรคฯ ต่อไป.