ม.ราชภัฏราชนครินทร์โชว์งานวิจัยยกระดับรายได้และอาชีพคนชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์เปิดบ้านโชว์ผลงานวิจัยยกระดับอาชีพและรายได้คนในท้องถิ่น ตอกย้ำการเป็น“มหาวิทยาลัยชั้นนำรับใช้สังคมภาคตะวันออก” พร้อมชู 2ผลงานวิจัยเด่นหนุนการเลี้ยงปูทะเลในพื้นที่บ้านเขาดินเป็นต้นแบบเชื่อมโยงอาชีพการ-การตลาดและการท่องเที่ยวของชุมชนและ“การยกการแข่งขันของเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงตำบลคลองเขื่อน” เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันและยกระดับอาชีพและรายได้ของคนในชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตด้านเศรษฐกิจในอนาคต
รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลได้ประกาศให้โมเดลเศรษฐกิจบีซีจีเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต โดยใช้ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสนองนโยบายดังกล่าวเมื่อเร็วๆนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มุ่งยกระดับสร้างบุคลากรและจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ด้วยฐานงานวิจัย โดยได้จัดงาน “RRU OPEN HOUSE 2023 และตลาดวิจัย”ขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยเด่นๆของ 5 คณะ และอีก 11 ศูนย์ /สำนักสู่ชุมชน ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ได้มุ่งเน้นการเป็น “มหาวิทยาลัยชั้นนำรับใช้สังคมภาคตะวันออก” โดยสร้างระบบแนวคิดใหม่ให้กับอาจารย์ นักศึกษา และพัฒนาสมรรถนะร่วมกัน ผ่านการบริการวิชาการ และดำเนินงานโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ นอกจากนี้ ยังร่วมกับหน่วยงานและเครือข่ายต่างๆในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ร่วมกันมาโดยตลอด
สำหรับผลงานวิจัยโดดเด่นที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน อาทิ การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงตำบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านสังคมและชุมชนยั่งยืนและการวิจัยการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปูทะเลที่เหมาะสมกับพื้นที่ตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกงจังหวัด
สำหรับโครงการวิจัย เรื่อง การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงตำบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านสังคมและชุมชนยั่งยืน สืบเนื่องจากเห็นว่าปัจจุบันพฤติกรรมการซื้อสินค้าและใช้บริการทางออนไลน์ของคนไทยสินค้ามากขึ้น การมีระบบการตลาดของสินค้าผลไม้ที่ดีมีส่วนช่วยให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงและผู้บริโภคเองก็ได้รับอรรถประโยชน์หรือความพึงพอใจสูงสุดด้วย แต่เนื่องจากยังมีข้อจํากัดของผลไม้ ผู้บริโภค เกษตรกรผู้ผลิตรวมทั้งการบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดซึ่งเป็นข้อจํากัดที่มีความสําคัญต่อการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับเกษตรกร
ซึ่งจากผลงานวิจัยส่งผลให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงคุณภาพตำบลคลองเขื่อน สามารถนำระบบสารสนเทศจัดการตลาดผลไม้ของเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงตำบลคลองเขื่อนมาบริหารจัดการในการจัดจำหน่ายมะม่วงของดีคลองเขื่อนและผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ขยายกลุ่มลูกค้า แข่งขันในสถานการณ์การตลาดยุคปัจจุบัน และเพิ่มรายได้จากการจัดจำหน่ายสินค้าทั้งจากปริมาณการจัดจำหน่ายและมูลค่าสินค้าที่เพิ่มขึ้นเมื่อจำหน่ายร่วมกับกล่องบรรจุภัณฑ์มะม่วงของดีคลองเขื่อนที่ได้รับการพัฒนาขึ้น
นอกจากนี้งานวิจัยดังกล่าว ยังได้มีพัฒนาระบบสารสนเทศจัดการตลาดผลไม้โดยใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ผลิตมะม่วงส่งเสริมการตลาดออนไลน์เผยแพร่ระบบสารสนเทศจัดการตลาดผลไม้ของเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงตำบลคลองเขื่อน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนโดเมนเนมชื่อ www.khlongkhuean.com และ www.คลองเขื่อน.com เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข้อมูลชุมชนตำบลคลองเขื่อน ผลการประเมินพบว่าระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมมาก และการจำหน่ายมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของดีคลองเขื่อนคัดพิเศษพร้อมบรรจุภัณฑ์ขนาดบรรจุ 6 ผล สามารถเพิ่มมูลค่ามะม่วง คิดเป็นร้อยละ 62.24 เป็นการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนของตำบลคลองเขื่อน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงคุณภาพตำบลคลองเขื่อน
“ปัจจุบันได้มีการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย มีการนำไปใช้ประโยชน์แล้วจริง ตำบลคลองเขื่อนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงคุณภาพตำบลคลองเขื่อนมีระบบสารสนเทศจัดการตลาดผลไม้ของเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงตำบลคลองเขื่อนสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ในพื้นที่ผ่านระบบเครือข่ายอิเทอร์เน็ต บนโดเมนเนมชื่อ www.khlongkhuean.com และ www.คลองเขื่อน.comรวมทั้งการจัดจำหน่ายมะม่วงของดีคลองเขื่อนและผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ขยายกลุ่มลูกค้า แข่งขันในสถานการณ์การตลาดยุคปัจจุบัน และเพิ่มรายได้จากการจัดจำหน่ายสินค้าทั้งจากปริมาณการจัดจำหน่ายและมูลค่าสินค้าที่เพิ่มขึ้นเมื่อจำหน่ายร่วมกับบรรจุภัณฑ์มะม่วงของดีคลองเขื่อนที่ได้รับการพัฒนาขึ้น”
นอกจากผลงานวิจัยดังกล่าวแล้ว การวิจัยการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปูทะเลที่เหมาะสมกับพื้นที่ตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกงจังหวัด ฉะเชิงเทรานับเป็นอีกผลงานวิจัยโดดเด่นที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน และเป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตด้านเศรษฐกิจและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปูทะเลให้เป็นสัตว์น้ำที่เหมาะสมกับพื้นที่ตำบลเขาดินแบบครบวงจรโดยการมีส่วนร่วมของพื้นที่ตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ได้ทดลองเพาะเลี้ยงพันธุ์ปูในสภาพการทดลองในพื้นที่ตำบลเขาดินและทดลองเพาะเลี้ยงพันธุ์ปูในพื้นที่จริง โดยที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้เกิดจากชุมชนเขาดินมีอาชีพเสริมคือการเลี้ยงปูทะเลที่จับมาจากธรรมชาติ แต่พบปัญหาคือลูกปูทะเลที่มากับน้ำทะเลมีหลายสายพันธุ์ และมีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน และปัญหาหลักคือลูกปูตามธรรมชาติเริ่มหมดไปกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทดลองเพาะพันธุ์ลูกปูทะเลที่เหมาะต่อการเพาะเลี้ยงในพื้นที่ตำบลเขาดิน โดยการทดลองและเก็บข้อมูลกระบวนการเพาะลูกปูทะเลและเลี้ยงปูทะเล เพื่อเป็นข้อมูลยืนยันทางวิชาการว่าปูทะเลสายพันธุ์ใดเหมาะกับสภาพพื้นที่ของตำบลเขาดิน มีกระบวนการเพาะเลี้ยงลูกปูทะเลพันธุ์ใดที่จะให้อัตราการรอดสูง และมีอัตราการเจริญเติบโตดี ที่จะสามารถนำมาเลี้ยงและจำหน่ายเป็นปูทะเลที่ได้ราคาสูง และตรงตามความต้องการของผู้บริโภค
ซึ้งขบวนการวิจัยเริ่มตั้งแต่ ออกแบบการทดลองการเพาะเลี้ยงปูทั้งในแบบการทดลองในสภาพจำลองที่อิงสภาพตามธรรมชาติ ออกแบบการทดลองการเพาะเลี้ยงปูทั้งในแบบการทดลองในสภาพตามธรรมชาติที่เป็นพื้นที่จริง วิเคราะห์ข้อมูลจากกระบวนการทดลองเพาะเลี้ยงปูทะเลในสภาพแปลงเรียนรู้และในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งจัดเวทีวิพากษ์และแลกเปลี่ยนกับผู้ประกอบการและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง จัดเวทีคืนข้อมูลสู่ผู้ประกอบการและชุมชนในพื้นที่ตำบลเขาดิน จัดเวทีการนำเสนอผลงานเพื่อเชื่อมโยงผลงาน ซึ่งความสำเร็จของผลงานวิจัยชิ้นนี้คือช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น คือ การเพาะเลี้ยงปูทะเล ที่เข้าสู่การจำหน่ายและแข่งขันได้ในตลาดและยกระดับรายได้ของกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงและอนุบาลลูกปูทะเลบ้านเขาดิน อย่างน้อย 30% รวมทั้งเตรียมข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อผลักดันการเลี้ยงปูทะเลในพื้นที่บ้านเขาดินให้เป็นต้นแบบและเชื่อมโยงการประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงปูทะเลสู่การตลาดและการท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์ของชุมชนในอนาคตอีกด้วย