“เฉลิมชัย”มั่นใจทุเรียนไทยครองแชมป์ตลาดจีน สร้างรายได้เข้าประเทศกว่าแสนล้านบาท

“เฉลิมชัย”มั่นใจทุเรียนไทยครองแชมป์ตลาดจีน สร้างรายได้เข้าประเทศกว่าแสนล้านบาท
สมาคมทุเรียนไทยชี้ราคาปีนี่ดีกว่าปีที่แล้ว “อลงกรณ์”เผยไตรมาสแรกปีนี้ส่งออกทุเรียนเพิ่ม42%

วันนี้ (7 พ.ค. 65) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยว่า การส่งออกทุเรียนไทยไปจีนยังเป็นไปตามแผนปฏิบัติการผลไม้ปี2565 มั่นใจว่าทุเรียนไทยจะครองแชมป์ตลาดจีนได้อย่างต่อเนื่องนำรายได้เข้าประเทศไม่น้อยกว่า1.2แสนล้าน ทั้งนี้ได้ประเมินสถานการณ์แบบวันต่อวันจากรายงานล่าสุดว่าด่านจีนเปิดดำเนินการทุกด่าน แต่บางด่านเริ่มติดขัดเพราะมีออร์เดอร์จากจีนเข้ามาอย่างต่อเนื่องจึงขอความร่วมมือภาคเอกชนเพิ่มการขนส่งทางเรือและทางรถไฟ”จีน-ลาว”มากขึ้นตามเป้าหมายกลยุทธ์การบริหารโลจิสติกส์ของฟรุ้ทบอร์ดที่ให้เพิ่มการขนส่งทางเรือเป็น55%ทางบก40%ทางราง(รถไฟสายจีน-ลาว)และทางอากาศรวมกัน5% เพื่อลดความแออัดของด่านทางบกในช่วงผลผลิตทุเรียนออกมาก ลดความเสี่ยงจากการปิดด่านเพราะโควิด19 และเพื่อรับมือกับราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมากส่งผลให้ค่าขนส่งเพิ่มตามไปด้วยจากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน

“ จีนเป็นตลาดหลักของทุเรียนไทย
ปี2564การส่งออกทุเรียนสดไปจีนจำนวน875,097 ตันคิดเป็นมูลค่า109,205 ล้านบาท ขยายตัว 68.4% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยผลไม้ไทยสามารถครองตลาดจีนมีมาร์เก็ตแชร์กว่า 40 % อันดับ2คือชีลี 15% เวียดนาม 6%อยู่อันดับ3 ซึ่งสะท้อนถึงศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของผลไม้ไทย แม้จะเผชิญปัญหา มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในจีนซึ่งกระทบการขนส่งและการส่งออกเป็นระยะๆในช่วงกว่า 2ปีที่ผ่านมา
“ ปีนี้รัฐบาลโดยฟรุ้ทบอร์ด กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์จะพยายามช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนและผู้ประกอบการล้งผู้ส่งออกในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเพื่อทำให้ราคาทุเรียนและผลไม้ได้ราคาที่ดีและเพิ่มการส่งออกสร้างรายได้ให้ประเทศของเรามากขึ้น” ดร.เฉลิมชัยกล่าว

สถานการณ์ราคาทุเรียนวันนี้
ด้าน นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ. และประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ราคาผลไม้ไทยในตลาดจีนเพิ่มขึ้น40%ส่วนราคาในประเทศ ทางนายกสมาคมทุเรียนไทยแจ้งว่า ราคาทุเรียนดีกว่าปีที่แล้วโดยราคาหน้าล้งอยู่ที่กิโลกรัมละ130-140บาท ถ้าตกเกรดก็ลดลงมาตามคุณภาพ
“วันนี้ได้ตรวจสอบสถานการณ์ราคากับผู้นำเข้าของจีนรายใหญ่ที่กว่างสียืนยันว่าราคาทุเรียนไทยในตลาดจีนตอนนี้ดีกว่าปีที่แล้วแม้เริ่มเข้าช่วงที่ทุเรียนไทยเริ่มออกมามาก นอกจากนี้ได้รับรายงานจากพาณิชย์จังหวัดจันทบุรีว่า ราคาทุเรียนยังสูงอยู่ที่กิโลกรัมละ120-150บาทแล้วแต่เกรดและคุณภาพ”
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการส่งออกทุเรียนและผลไม้ไทยเพิ่มขึ้นมากในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 โดยกระทรวงพาณิชย์รายงานว่าการส่งออกทุเรียนเพิ่มขึ้น 42% ลำไยเพิ่มขึ้น 36% มะม่วงเพิ่มขึ้น 21%
ส่งผลทำให้ราคาผลไม้ในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ราคาเพิ่มขึ้น 40% ส้มเขียวหวานเพิ่มขึ้น 8% ส้มโอขาวน้ำผึ้งเพิ่มขึ้น 28% เป็นต้น รวมทั้งมาตรการเพิ่มการบริโภคภายในประเทศจาก30%เป็น40%ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้วางมาครการด้านการตลาดไว้แล้วรองรับผลไม้ 566,000 ตัน โดยประกอบด้วย หนึ่ง ตลาดตามมาตรการเขิงรุก 18ประกาศตั้งแต่ครึ่งปีที่แล้วช่วยระบายผลไม้ได้เตรียมไว้ 244,000 ตัน สอง มาตรการเตรียมสต๊อกสำหรับทำผลไม้แช่เย็น แช่แข็ง เตรียมไว้ 120,000 ตัน และสามกระจายทั่วประเทศโดย เตรียมระบายไว้ 145,000 ตัน
“ และส่วนหนึ่งคือการจัด “พาณิชย์ Fruit Festival 2022”งานวันนี้จะมีส่วนช่วยระบายผลไม้ ได้ไม่ต่ำกว่า 3,500 ตัน จัดตั้งแต่วันที่ 2-8 พฤษภาคม 2565 เตรียมจุดจำหน่ายไว้ทั้งหมด 1092 จุด ประกอบด้วยห้างโมเดิร์นเทรด ร้านค้าปลีก-ส่ง ร้านสะดวกซื้อ ห้างท้องถิ่น โดยเป็นที่กรุงเทพมานครและรถเร่ 500 จุดที่เหลือเป็นต่างจังหวัดเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเตรียมรับมือช่วง peak ซึ่งผลผลิตทุเรียนภาคตะวันออกคาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น จาก 575,542 ตัน ในปี 2564 เป็นจำนวน 729,110 ตัน ในปี 2565”
นายอลงกรณ์ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีที่มีสื่อมวลชนบางสำนักได้รายงานขาวเกี่ยวกับมาตรการซีโรโควิดของทางประเทศจีน และมีการกักด่าน สร้างผลกระทบต่อการส่งออกทุกเรียนของประเทศไทยนั้น อยากชี้แจงว่า สื่อมวลชนอาจได้รับข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไม่ตรงต่อข้อเท็จจริง ทำให้การเสนอข่าวออกไปมีความคาดเคลื่อนและส่งผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะการจำหน่ายผลผลิตทุเรียนของเกษตรกรชาวสวน ที่จะมีผู้ไม่หวังดีใช้ข่าวที่นำเสนอมาเป็นประเด็นในการกดราคารับซื้อจากเกษตรกร ดังนั้นจึงอยากให้สื่อมวลชนได้มีการตรวจสอบข้อมูลให้แน่นชัดก่อน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมให้ขอมูลในทุกด้านตามที่สื่อต้องการ เพื่อให้นำเสนอข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และสร้างประโยชน์ทั้งต่อเกษตรกร และประเทศชาติ จึงอยากให้สื่อมวลชนได้พิจารณา และเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบข้อมูลก่อนนำเสนอ