สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 มี.ค. 65

  • ประเทศไทยตอนบน มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ส่วนภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
  • ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.จันทบุรี (117 มม.) จ.อุบลราชธานี (106 มม.) และ จ.ชัยภูมิ (83 มม.)
  • ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 28,860 ล้าน ลบ.ม. (50%) ขนาดใหญ่ 22,770 ล้าน ลบ.ม. (48%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง (เขื่อนแม่งัด ภูมิพล และสิริกิติ์)
  • คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน และแม่กลอง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  • ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. ในฐานะรองผู้อำนวยการ กอนช. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำและพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงภาวะขาดแคลนน้ำ ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2564/65 ดังนี้
  • ผลการจัดสรรน้ำ ณ วันที่ 10 มี.ค. 65 อ่างเก็บน้ำ 35 แห่ง ได้จัดสรรน้ำสะสม 11,014 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งน้อยกว่าแผนจัดสรรน้ำสะสม 241 ล้าน ลบ.ม. (แผนฯสะสม 11,256 ล้าน ลบ.ม.) โดยมีอ่างฯ ที่จัดสรรน้ำมากกว่าแผนแล้ว 15 แห่ง
  • อ่างเก็บน้ำที่มีแนวโน้มเสี่ยงน้ำน้อย คาดว่า ณ วันที่ 1 พ.ค. 65 จะมีอ่างฯ ที่มีปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บต่ำสุด (LRC) ต้องเฝ้าระวังปริมาณน้ำน้อย จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ อ่างฯ แม่งัดสมบูรณ์ชล ภูมิพล กิ่วลม สิริกิติ์ และนฤบดินทรจินดา
  • สถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ด้านอุปโภค-บริโภค ในเขต กปภ. ยังไม่มีภาวะขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ส่วนนอกเขต กปภ. (ประปาท้องถิ่น) 25 ตำบล 9 อำเภอ 5 จังหวัด พบว่า มีน้ำไม่เพียงพอในพื้นที่ 1 จังหวัด (จ.นครราชสีมา) สำหรับ ด้านการเกษตร ผลการปลูกข้าวรอบ 2 ณ วันที่ 2 มี.ค. 65 มีพื้นที่เฝ้าระวัง 74 ตำบล 29 อำเภอ 12 จังหวัด มีพื้นที่ปลูกข้าวรอบ 2 แล้ว 814,652 ไร่ โดยพื้นที่ดังกล่าว ได้ปลูกข้าวเกินแผนแล้ว 8 จังหวัด (15 อำเภอ 25 ตำบล) 107,413 ไร่ จากการประเมินสถานการณ์น้ำยังคงเพียงพอต่อการเพาะปลูกในพื้นที่ดังกล่าว
    ทั้งนี้ กอนช. เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชะลอการเพาะปลูกจนกว่าจะเข้าสู่ฤดูฝนหรือปลูกพืชใช้น้ำน้อย เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำสำรองต้นฤดูฝน ปี 2565 โดยในพื้นที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ ให้ความช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์จนสิ้นสุดฤดูแล้งต่อเนื่องถึงต้นฤดูฝน