ม.เกษตรเดินหน้า 6 ยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อบูรณาการการเรียนรู้ตลอดชีวิต KU Lifelong Learning

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะสถาบันการศึกษา รับนโยบายของกระทรวง อว.ในการนำนวัตกรรมการศึกษา KU-Lifelong Learning ที่สร้างโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายวัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุได้เข้าถึงการศึกษาเรียนรู้ด้านสุขภาพเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต Health Science กำหนด 6 ยุทธศาสตร์เชิงรุก มุ่งเป้าความสำเร็จให้สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อ และสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต คนไทยเป็นคนดี    คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21

ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (อว.)เป็นประธานเปิดตัวโครงการนำร่องเชิงนโยบายการบูรณาการส่วนงานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ณ ห้องประชุมวัฒนา สวรรยาธิปัติ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม อาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และนำเสนอแนวคิดในประเด็น“โอกาสการเข้าถึงการศึกษา และนวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต” กล่าวถึงแนวคิดการดำเนินโครงการของมหาวิทยาลัย ร่วมกับ ภาครัฐ เอกชน และชุมชนเพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มช่วงวัย กลุ่มวัยแรงงาน ได้เข้าถึงระบบการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิตตอบสนองความต้องการ เพิ่มโอกาสที่จะยกระดับทักษะการบริหารจัดการการเงินของตนเองและครอบครัว และพัฒนาแรงงานฝีมือให้มีความชำนาญพิเศษ และต่อยอดความรู้เพื่อเป็นผู้ประกอบการใหม่ กลุ่มผู้สูงอายุ มีแผนส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ โดยมีแผนส่งเสริมการทำงานหลังเกษียณ พัฒนาทักษะอาชีพในการหารายได้ การมีงานทำที่เหมาะสมกับศักยภาพ การเสริมสร้าง ฟื้นฟูสุขภาพ และการป้องกันโรค                    ซึ่งสถาบันการศึกษามีส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับกลุ่มวัยแรงงาน และกลุ่มผู้สูงอายุได้

               ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม ประธานคณะทำงานนโยบายบูรณาการส่วนงานเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มก. กล่าวว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะสถาบันการศึกษา รับนโยบายของกระทรวง อว.ในการนำนวัตกรรมการศึกษา KU-Lifelong Learning ที่สร้างโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายวัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุได้เข้าถึงการศึกษาเรียนรู้ด้านสุขภาพเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต Health Science กำหนด 6 ยุทธศาสตร์เชิงรุก ได้แก่

1.การส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครอบครัว

และชุมชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

2. การส่งเสริมให้ชุมชุนเป็นฐานในการสร้างสุขภาวะที่ดีในทุกพื้นที่

3.การใช้สื่อและสื่อสารมวลชนในการปลูกฝังค่านิยม และวัฒนธรรมของคนในสังคม

4. การเปลี่ยนโฉมบทบาท “อาจารย์” ให้เป็นอาจารย์ยุคใหม่

5.การปลูกฝังค่านิยม และวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

6.การวางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้ โดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม

ภายใต้ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาวะ และความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทย และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งความมุ่งหวังสำเร็จของการบูรณาการส่วนงาน KU Lifelong Learning คือ 1.สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อ และสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต 2.คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับ KU Lifelong Learning เป็นหนึ่งในกรอบแนวคิด KUniverse ของท่านอธิการบดีอีกด้วย