ม.เกษตรศาสตร์ จัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2565 “เกษตรวิถีใหม่ หลังมหันตภัยโควิด” 28 ม.ค.- 5 ก.พ.65 ภายใต้มาตรการเข้มข้น

ันที่ 19 ม.ค.65 ที่ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2565
เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2565 พร้อมด้วย
ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร
ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดงาน และ ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก
รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม
ประธานอนุกรรมการฝ่ายจัดแสดงผลงานนวัตกรรม ร่วมการแถลงข่าว
โดยเน้นย้ำถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานเกษตรแฟร์
เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยออกสู่สังคม
เปิดการเรียนรู้ให้กับนิสิต บุคลากร และอาจารย์ โดยใช้งานเกษตรแฟร์
เป็นห้องปฏิบัติการภาคสนามเพื่อถ่ายทอดความรู้ทุกมิติจากห้องเรียน
ช่วยเหลือสังคมประชาชน อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการช่วยเหลือเกษตรกร
ผู้ประกอบการให้มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร
ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน กลับไปสู่ชุมชน และสังคม
สร้างความสุขให้กับครอบครัว


ขณะเดียวกันก็คาดหวังงานเกษตรแฟร์จะเป็นต้นแบบการใช้ชีวิตประจำวัน
ในวิถีใหม่ ซึ่งเราทุกคนจำเป็นต้องใช้ชีวิตเดินหน้า ทั้งการงานอาชีพ
การเรียน การทำกิจกรรมและบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ ในสังคม
ภายใต้สถานการณ์โควิดอย่างปลอดภัย
โดยมหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกัน

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-
19)ตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร ของการจัดงานเกษตรแฟร์
ประจำปี 2565 ให้ทุกฝ่ายเข้าใจและร่วมมือกันปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กล่าวว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมเดินหน้าจัดงานเกษตรแฟร์
ประจำปี 2565 “ เกษตรวิถีใหม่ หลังมหันตภัยโควิด” ระหว่างวันที่ 28
มกราคม–5 กุมภาพันธ์ 2565 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
ภายใต้มาตรการเข้มข้นตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกั
นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร ของการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี
2565 อย่างเคร่งครัด ทั้งด้านผู้จัดงาน ผู้ประกอบการร้านค้า
และผู้มาชมงาน โดยมุ่งเน้นวัตถุประสงค์สำคัญของการจัดงาน คือ
การเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยออกสู่สังคม
อีกทั้งอาจารย์และนิสิตได้ฝึกการทำงานจริงเกิดการเรียนรู้ทุกรูปแบบในงา
นเกษตรแฟร์ซึ่งเป็นเสมือนห้องปฏิบัติการภาคสนาม ได้นำผลงานวิจัย
ผลลัพธ์การเรียนจากห้องเรียนช่วยเหลือสังคม
เพื่อเป็นต้นแบบในการใช้ชีวิตและทำกิจกรรมภายใต้สถานการณ์โควิดอย่
างปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน มูลนิธิฯ
ให้มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
สินค้าแปรรูป สินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ
เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
กลับไปสู่ชุมชน และสังคม สร้างความสุขให้กับครอบครัว
โดยมหาวิทยาลัยจะพิจารณาเรื่องลดค่าบริการพื้นที่ให้กับเกษตรกร
ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือในช่วงสถานการณ์โควิด-19
รูปแบบของงานในปีนี้ จะจัดในพื้นที่กลางแจ้งทั้งหมด
ตั้งแต่บริเวณศาลาหกเหลี่ยม ประตูพหลโยธิน
ไปจนถึงบริเวณประตูวิภาวดีรังสิต โดยลดปริมาณร้านค้าลง 50 %

ตั้งร้านค้าฝั่งเดียวของถนน เว้นระยะห่างของร้านค้า
และกำหนดให้ผู้ร่วมงานเดินเส้นทางเดียว (ONE Way)
เพื่อไม่เดินสวนกันในระยะใกล้ชิด ตั้งจุดตรวจคัดกรองอุณหภูมิ
และลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงาน 6 จุดเข้างาน ได้แก่ ประตูพหลโยธิน ,
ประตูงามวงศ์วาน (1), ประตูสวนวรุณาวัณ (สำนักพิพิธภัณฑ์ฯ) ,
แยกโครงการหลวง , แยกสำนักการกีฬา , แยกคณะเกษตร
(อาคารวชิรานุสรณ์)
โดยกิจกรรมประกอบด้วย การจัดแสดงผลงานวิจัยนวัตกรรมของ
มก. การประกวดพืช ผลไม้ การประกวดปลากัด
การประกวดผลิตภัณฑ์เครื่องแกงอาหารไทยพร้อมปรุง ประเภทแกง
การประกวดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม TGDA Awards 2022
กลุ่มร้านค้านิสิต การแสดงศิลปและวัฒนธรรม ดนตรี นาฎศิลป์
และกลุ่มร้านค้าตลาดนัดสินค้าทางการเกษตรจากเกษตรกร
ตลาดน้ำนนทรี สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเบ็ดเตล็ดจากผู้ประกอบการ
โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สนับสนุนพื้นที่สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่อง BCG
แก่ผู้ประกอบการและประชาชน ภายในงานเกษตรแฟร์
โดยร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ภายใต้โครงการ อว. BCG Market @Kaset Fair
ซึ่งจะมีผู้ประกอบการภายใต้หน่วยงานต่าง ๆ ของ กระทรวง
อว.เข้าร่วมประมาณ 100 ราย
นอกจากนี้ยังเปิดแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ทุกท่านสามารถเข้าชมงานเกษต
รแฟร์เสมือนจริงและเลือกสินค้าได้ตลอดงานอีกด้วย

สำหรับมาตรการหลักๆ
ตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดข
องเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร ของการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี
2565 ผู้เข้าชมงาน จะต้องได้รับการตรวจคัดกรองอุณหภูมิ และ สแกน

QR CODE ลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากงาน
สวมหน้ากากอนามัยและทับด้วยหน้ากากผ้า ตลอดเวลา 100 %
เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร เดินชมงานตามระบบเดินทางเดียว (One
Way) ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ตามจุดต่าง ๆ
ที่ให้บริการภายในงาน ใช้ระบบ KU เกษตรแฟร์ Application บนมือถือ
แทนสูจิบัตรเข้าชมงาน
ใช้รถรางให้บริการโดยสารตามเส้นทางภายในบริเวณโดยรอบมหาวิทยา
ลัย งดรับประทานอาหารในขณะเดินชมงาน
ไม่นั่งรับประทานรวมกลุ่มในร้าน ทิ้งขยะและคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ
ตามจุดต่าง ๆ ที่ให้บริการภายในงาน
ทั้งนี้ขอให้ทุกท่านร่วมใส่ใจและดูแลกัน
ปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ขั้นสูงสุด
แบบครอบจักรวาล หรือ Universal Prevention For COVID-19
และมหาวิทยาลัยมีมาตรการให้เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ ร้านค้าและ นิสิต
ต้องได้รับการตรวจ ATK
ตามข้อกำหนดและได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้วอย่างเคร่งครัด

ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์ รายงาน