Skip to content
- ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ
- แม่น้ำสายหลัก ภาคเหนือ มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มทรงตัว และภาคกลาง มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มลดลง สำหรับแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
- ปริมาณน้ำแหล่งน้ำทุกขนาด 37,015 ล้าน ลบ.ม. (45%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 32,382 ล้าน ลบ.ม. (45%) ปริมาณน้ำไหลเข้าแหล่งน้ำ 110.40 ล้าน ลบ.ม.น้ำระบาย 100.21 ล้าน ลบ.ม. เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 8 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 1 แห่ง (อ่างฯหนองปลาไหล)
สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำน่าน เวียงสา จ.น่าน แนวโน้มลดลง - กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน “โคะงุมะ” ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 13-15 มิ.ย. 64 และทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำรวม 331 ล้าน ลบ.ม. ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกได้ ดังนี้
ภาคเหนือ น้ำไหลเข้าอ่างฯ สะสม 49 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯ สิริกิติ์
จ.อุตรดิตถ์ 36 ล้าน ลบ.ม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ น้ำไหลเข้าอ่างฯสะสม 185 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯ ลำปาว จ.กาฬสินธุ์ 48 ล้าน ลบ.ม.
ภาคตะวันออก น้ำไหลเข้าอ่างฯสะสม 7 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่
อ่างฯ นฤบดินทรจินดา จ. ปราจีนบุรี 3 ล้าน ลบ.ม.
ภาคกลาง น้ำไหลเข้าอ่างฯสะสม 3 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯ ป่าสัก
ชลสิทธิ์ จ.ลพบุรีและสระบุรี 2 ล้าน ลบ.ม.
ภาคตะวันตก น้ำไหลเข้าอ่างฯสะสม 47 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่
อ่างฯ วชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี 31 ล้าน ลบ.ม.
ภาคใต้น้ำไหลเข้าอ่างฯสะสม 40 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯ รัชชประภา
จ.สุราษฎร์ธานี 30 ล้าน ลบ.ม
กอนช. เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานบูรณาการเตรียมความพร้อมตาม 10 มาตรการ เพื่อรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝนนี้