“ธุรกิจและเทคโนโลยีที่ยั่งยืน” แนวทางสู่อนาคตโลกสีเขียวของหัวเว่ยและองค์กรชั้นนำทั่วโลก
11 มิถุนายน พ.ศ. 2564 – ในโลกทุกวันนี้ ภาคธุรกิจต่าง ๆ กำลังค้นหาวิธีสร้างเป้าหมายที่ชัดเจน รวมถึงพัฒนาโครงสร้างทางธุรกิจเพื่อเตรียมพร้อมรับโอกาสใหม่ ๆ ซึ่งล้วนเป็นผลมาจากข้อตกลงที่พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและดูแลโลกของเราไปพร้อมกัน อุตสาหกรรมเทคโนโลยี ICT ถือว่าเป็นผู้นำในด้านนี้มาโดยตลอด เนื่องจากมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น กระบวนการลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังช่วยภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในการลดการปล่อยมลภาวะทั่วโลกเช่นกัน
แคทเธอรีน เฉิน รองประธานอาวุโสและคณะกรรมการบริหารของหัวเว่ย ได้กล่าวเกี่ยวกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนไว้อย่างน่าสนใจในงาน Responsible Business 2021 ซึ่งจัดขึ้นโดย Reuters ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า “การไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนเพิ่ม ระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการขยะนั้นเป็นหัวใจของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ การเดินหน้าใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยปัจจุบัน โซลูชัน Huawei Smart PV ซึ่งตอบโจทย์ในด้านนี้ได้รับการนำไปประยุกต์ใช้ในกว่า 60 ประเทศทั่วโลกแล้ว ช่วยลดต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 7% เมื่อนำไปใช้ในโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ และหากนำไปใช้ในภาคธุรกิจหรือตามบ้านเรือน ก็จะช่วยเพิ่มการสร้างพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 2% และช่วยลดค่าใช้ไฟลงได้”
แคทเธอรีน เฉิน รองประธานอาวุโสและคณะกรรมการบริหารของหัวเว่ยกล่าวในงาน Responsible Business 2021
หัวเว่ยเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และยึดมั่นในหลักการของการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดมา ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การปฏิบัติการ ไปจนถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการ เพราะเป้าหมายขององค์กรคือ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน สนับสนุนการใช้งานพลังงานหมุนเวียน และเดินหน้าเข้าไปมีส่วนช่วยระบบเศรษฐกิจที่มีการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับผู้ผลิต 93 รายที่อยู่ใน 100 ลำดับแรก เพื่อตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน โซลูชัน Huawei PV ที่ตั้งอยู่ในเขตโรงงานของหัวเว่ยได้ผลิตไฟฟ้าจำนวน 12.6 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) มีการใช้พลังงานสะอาดไปกว่า 1,550 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงได้มากกว่า 620,000 ตัน นอกจากนี้โครงการรีไซเคิลอุปกรณ์ใช้แล้วใน 48 ประเทศทั่วโลกก็รีไซเคิลขยะอีเลคทรอนิคส์ไปได้มากกว่า 4,500 ตัน ทั้งนี้ หัวเว่ยเป็นหนึ่งในองค์กรเพียงแค่ 5% ที่ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่ม “ชั้นนำ” ของโครงการ Carbon Disclosure Project (CDP) โดย CDP มีการให้คะแนนองค์กรต่างๆ กว่า 9,000 องค์กรในรายงานที่เปิดเผยในปี พ.ศ. 2563
งาน Responsible Business 2021 ถือเป็นงานที่ให้ข้อมูลสำคัญแก่องค์กรธุรกิจเพื่อนำไปลงมือทำและสร้างความแตกต่างได้ โดยมีหน่วยงานตัวแทนทั้งจากภาครัฐ และเอกชน รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์ที่มีต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ คำมั่นสัญญา และการวัดความสำเร็จในเรื่องการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน
“งาน Responsible Business 2021 ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ภาคธุรกิจควรหันมามองวิธีการทำธุรกิจกันใหม่ และงานนี้ยังเป็นพื้นที่สำหรับทุกฝ่ายในการหาทางสร้างความร่วมมือ แผนงาน และนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยหัวเว่ยก็มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ และยังสามารถเป็นต้นแบบให้กับบริษัทอื่น ๆ ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่องค์กรของตัวเองได้อีกด้วย” เลียม ดาวด์ ผู้อำนวยการของ Reuters Events Sustainable Business กล่าว