สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 30 พ.ค. 64

  • มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่
  • แม่น้ำสายหลัก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มลดลง สำหรับแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มลดลง
  • ปริมาณน้ำใช้การ แหล่งน้ำทุกขนาด 37,743 ล้าน ลบ.ม. (46%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 33,011 ล้าน ลบ.ม. (46%) เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 7 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 1 แห่ง (อ่างฯหนองปลาไหล)
  • คุณภาพน้ำ ณ จุดเฝ้าระวังน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี ค่าความเค็ม อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนน้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน บริเวณปากแม่น้ำ
  • กอนช. ติดตามการบริหารจัดการน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออก
    กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง พบว่าระดับน้ำจากสถานีจิ่งหงลดลงอย่างฉับพลัน เนื่องจากมีการปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนจิ่งหง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 64 จากเดิมระบายน้ำวันละ 2,525 ลบ.ม./วินาที เหลือวันละ 1,854 ลบ.ม./วินาที และคาดการณ์ว่า จะส่งผลกระทบให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
    1. ช่วงเหนือเขื่อนไซยะบุรี สปป.ลาว บริเวณ อ.เชียงแสน จ.เชียงรายระดับน้ำลดลง 80-100 ซม. ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. ถึง 2 มิ.ย. 64
    2. ช่วงท้ายเขื่อนไซยะบุรี บริเวณ อ.เชียงคาน จ.เลย อ.เมือง จ.หนองคาย อ.เมือง จ.นครพนม อ.เมือง จ.มุกดาหาร และ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง โดยขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนไซยะบุรี
    ทั้งนี้ กอนช. ขอให้จังหวัดดังกล่าวข้างต้น ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง และแจ้งเตือนให้แก่ประชาชนที่สัญจร และประกอบกิจกรรมในบริเวณแม่น้ำโขง รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำโขงให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และเฝ้าระวังผลกระทบที่ีอาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำโขงอย่างฉับพลัน