ยูโอบีประสบความสำเร็จในกำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับการออกและเสนอขายหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน
20 พฤษภาคม 2564 – ธนาคารยูโอบีประสบความสำเร็จในกำหนดอัตราดอกเบี้นสำหรับการออกและเสนอขายหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน[1] ครั้งแรกจากประเทศสิงคโปร์ หุ้นกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ นี้เป็นการออกหุ้นกู้ 2 รุ่นพร้อมกันของหุ้นกู้ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน และหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่สามารถนับเป็นกองทุนขั้นที่ 2 (หุ้นกู้ด้อยสิทธิ) ครั้งแรกของโลกในรูปแบบหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนที่ออกโดยธนาคาร โดยนักลงทุนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยุโรป และสหรัฐอเมริกาให้การตอบรับและเข้าซื้อจำนวนมาก
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและหุ้นกู้ด้อยสิทธิกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 1.25 และ 2.00 ต่อปีตามลำดับ โดยมีมูลค่ารวม 1.50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมียอดแจ้งความจำนงในการลงทุนจากนักลงทุนรวมทั้งหมด 2.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนทั้งสองรุ่นที่เพิ่งออกเป็นครั้งแรกนี้ได้รับประโยชน์จากแรงสนับสนุนเป็นอย่างดีจากนักลงทุนที่เน้นการลงทุนเพื่อความยั่งยืน[2] ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60 ของยอดแจ้งความจำนงในการลงทุนทั้งหมด
การเสนอขายครั้งนี้เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ของธนาคารครั้งแรกภายใต้กรอบแนวคิดหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนของยูโอบี (UOB Sustainable Bond Framework) ที่เปิดตัวในเดือนมีนาคม 2564[3] กรอบแนวคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนด้านความยั่งยืนของธนาคาร ซึ่งถูกรวมอยู่ในกลยุทธ์ทางธุรกิจ และรวมอยู่ในนโยบายการให้สินเชื่อ เงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ในการให้กู้และชำระคืนเงินกู้สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน และ/หรือ โครงการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น อาคารสีเขียวและพลังงานหมุนเวียน รวมถึงสินทรัพย์เพื่อสังคมที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ซึ่งรวมถึงเงินกู้ระยะสั้น (bridging loans) ชั่วคราวที่เกี่ยวกับโควิด-19 แก่ธุรกิจขนาดเล็กในสิงคโปร์เพื่อช่วยให้ธุรกิจเหล่านั้นคงการจ้างงานและก้าวผ่านความท้าทายที่ประสพจากภาวะโรคระบาดนี้ได้
นายวี อี เชียง รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “การระดมทุนเพื่อความยั่งยืนที่ก้าวหน้าของธนาคารนี้ รวมอยู่ในวิธีที่เราช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ทั่วภูมิภาคพัฒนาไปอย่างมีความรับผิดชอบ การจัดโครงสร้างแบบนี้ได้รับแรงผลักดันจากกรอบแนวคิดการการให้กู้ยืมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable finance frameworks) ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจหมุนเวียน[4] ที่สอดคล้องกับนโยบายการให้ความสำคัญกับการขยายการเจริญเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็วและความต้องการสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“จากการออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนครั้งแรกของธนาคารนี้ ธนาคารยังได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดทุนที่ครอบคลุมของเรา ในการเชื่อมโยงนักลงทุนทั่วโลกเข้ากับโอกาสในการใช้เงินทุนของตนเพื่อสนับสนุนองค์กรและโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบที่มีความหมายต่อการพัฒนาภูมิภาคได้ ผ่านการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนที่เพิ่งเปิดตัวนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตอบรับอย่างล้นหลามจากนักลงทุนที่เน้นการลงทุนเพื่อความยั่งยืนถือเป็นการยืนยันบทบาทของธนาคารในฐานะตัวแร่งและผู้ช่วยขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน”
หุ้นกู้นี้เสนอขายในวันที่ 14 เมษายน 2564 หุ้นไม่ด้อยสิทธิได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ “Aa1” จากมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส (Moody’s Investors Service) และที่ระดับ ‘AA-’ จากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (Standard & Poor’s) และฟิทช์เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) ที่ ในขณะที่หุ้นกู้ด้อยสิทธิได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อจากมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส (Moody’s Investors Service) ที่ระดับ ‘A2’ จากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (Standard & Poor’s) ที่ระดับ ‘BBB+’ และจากฟิทช์เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) ที่ระดับ ‘A’
หุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนของธนาคารยูโอบีจะเสนอขายภายใต้โครงการเสนอขายตราสารหนี้ระยะกลางทั่วโลก (Global Medium Term Note Programme – GMTN) มูลค่า 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมี ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์, ธนาคารเอชเอสบีซี, ธนาคารโซซิเอเต เจเนราล และธนาคารยูโอบี เป็นผู้จัดการการจำหน่ายหุ้นกู้ร่วม และธนาคารแห่งประเทศจีนเป็นผู้ร่วมจัดการการจำหน่าย
กรอบแนวคิดหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนของยูโอบีนี้สอดคล้องกับหลักการหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อม หลักการหุ้นกู้เพื่อสังคม และหลักการหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน ของสมาคมตลาดทุนระหว่างประเทศ และสอคคล้องกับมาตรฐานหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อม มาตรฐานหุ้นกู้เพื่อสังคม และมาตรฐานหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน ของกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งนี้ บริษัท Sustainalytics ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นอิสระด้านการวิเคราะห์ การจัดอันดับ และการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล และบรรษัทภิบาล ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความเห็นต่อกรอบแนวคิดหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนของธนาคารยูโอบี