Skip to content
- ทุกภาคของประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่
- แม่น้ำสายหลัก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น และภาคใต้ มีน้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มทรงตัว ส่วนแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มทรงตัว
- ปริมาณน้ำใช้การ แหล่งน้ำทุกขนาด 38,692 ล้าน ลบ.ม. (47%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 33,924 ล้าน ลบ.ม. (47%) เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 9 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 1 แห่ง (อ่างเก็บน้ำลำตะคอง และหนองปลาไหล)
- เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม บริเวณจังหวัดสระบุรี เชียงราย สุโขทัย และตาก
- กอนช. ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ ของกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่าสภาพอากาศปีนี้คล้ายคลึงกับสถานการณ์ในปี 2551 ปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศมีค่าสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลางตอนบนจะสูงกว่าค่าปกติมาก ในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือน ก.ค. ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง ตั้งแต่กลางเดือน ก.ค. – ก.ย.64 จะมีฝนตกชุกหนาแน่น ส่วนในช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย. 64 มีโอกาสเกิดพายุเคลื่อนตัวผ่านประเทศไทย จำนวน 2-3 ลูก กอนช. ได้ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำและพื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัย และมอบหมายหน่วยงานเตรียมความพร้อมโดยปรับแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
- กรมชลประทาน วางแผนการใช้น้ำ โดยใช้พื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางระกำเริ่มทำนาปีตั้งแต่เดือน เม.ย. จำนวน 2.8 แสนไร่ วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก กำหนดผู้รับผิดชอบในพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งเตรียมทรัพยากรในแต่ละพื้นที่ให้เพียงพอและพร้อมใช้งานตลอดเวลาสำหรับจุดเสี่ยงอุทกภัย
- กรุงเทพมหานคร เตรียมแผนการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำและรับมือในภาพรวมในแต่ละกรณี โดยตรวจสอบและซ่อมแซมจุดรั่วซึมของแนวป้องกันน้ำท่วม ติดตามสถานการณ์น้ำเหนือ ร่วมกับกรมชลประทาน และบริหารจัดการน้ำร่วมกับกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ รวมทั้งเตรียมความพร้อมของระบบระบายน้ำ สถานีสูบน้ำให้พร้อมใช้งาน รวมทั้งสำรวจและติดตั้งเครื่องสูบน้ำชั่วคราวในพื้นที่จุดเสี่ยงและจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม