กรมข้าวใช้พันธุ์”น้ํารู”ทํานาแบบขั้นบันได สอนวิธีปลูกข้าวชาวบ้านในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ฯบ้านหนองห้า

“พระเจา้ อยู่หัวเป็นน้ํา ฉนั จะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภกั ดีต่อน้ํา พระเจา้ อยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ํา ฉนั จะสร้างป่า

บ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดําริบ้านหนองห้า ต.ร่มเย็น อ.เชียงคํา จ.พะเยา ถือเป็น 1 ในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดําริที่มีจํานวนทั้งหมด 5 แห่ง ประกอบด้วย 1) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตาม พระราชดําริบ้านอุดมทรัพย์ อ.คลองลาน จ.กําแพงเพชร 2) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดําริบ้านหนองห้า อ.เชียงคํา จ.พะเยา 3) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดําริดอยฟ้าห่มปก อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 4.) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดําริดอยดํา อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ และ 5) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตาม พระราชดําริบ้านห้วยหญ้าไซ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

ในอดีตนั้นบ้านหนองห้าต.ร่มเย็น.เชียงคําจ.พะเยา มีสภาพพื้นที่เป็นป่าเสื่อมโทรมผลจากถูกบุกรุก แผ้วถางเพื่อทําไร่เลื่อยนลอย บางส่วนของพื้นที่มีการปลูกพืชเสพติด รวมถึงมีปัญหาด้านความมั่นคงตามแนว ชายแดน ประกอบกับมีราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ได้เคยถวายฎีการ้องทุกข์ ขอพระราชทานความช่วยเหลือ เรื่องที่ดินทํากินเป็นจํานวนมากพระองคจ์ึงมีพระราชดําริที่จะให้ราษฎรเหล่านั้นว่าจะเข้ามาช่วยฟื้นฟูสภาพป่าเพื่อ อนุรักษ์แหล่งต้นน้ําลําธารในพื้นที่ดังกล่าวโดยจัดทําเป็นโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่และมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพใน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงก็จะมาให้การสนับสนุนการฝึกอบรมศิลปาชีพ และ ปลูกฝังความรู้ด้านการเกษตร การอนุรักษ์ ธรรมชาติแก่ราษฎร ที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่า ได้อย่างผสมกลมกลืน โดยคนเป็นผู้พิทักษ์รักษาป่าและป่าจะให้ความร่มเย็นเป็นแหล่งผลิตอาหารของคน

นางสาวนาถอนงค์ ชนาทิพย์ หรือชาวชนเผ่ารู้จักในนาม นาฮือ จ๊ะจ๋า ราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่าลาหู่ จาก อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ที่ย้ายเข้ามาอาศัยในโครงการฯเป็นกลุ่มแรกเมื่อปี 2545 เป็น 1 ในจํานวน 12 ครอบครัวที่ได้รับการจัดสรรที่ดินทํากินจากทางการครอบครับละไม่เกิน 20 ไร่ โดยเธอบอกว่าเมื่อครั้งเข้ามาอยู่ ใหม่เมื่อปี 2545 ไม่รู้จักวิธีการทํานาปลูกข้าว แต่หลังจากเจ้าหน้าที่จากกรมการข้าวได้เข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการทํานา โดยใช้เป็นลักษณะทํานาแบบขั้นบันไดเพื่อเก็บกักน้ําไว้ เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขา มีความลาดชัน ซึ่งต้องใช้เวลาปรับปรุงดินอยู่ประมาณ 5 ปี จึงเริ่มปลูกข้าวได้ โดยใช้ข้าวพันธุ์น้ํารู ซึ่งมีความ เหมาะสมในการปลูกบนพื้นที่สูง หลังจากประสบความสําเร็จในการทํานา เธอก็ต่อยอดโดยการปลูกกาแฟ แล้วนํา แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นเมล็ดกาแฟคั่ว กาแฟบดบรรจุถุง ภายในใต้ตราสัญลักษณ์กาแฟบ้านหนองห้า ใ นโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดําริ

“กรมการข้าวอยู่กับชุมชนอยู่กับชาวบ้านมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่ม ที่จริงพื้นที่นี่ไม่เหมาะสมในการทํานาปลูกข้าว มีก้อนหินผสมเยอะ น้ํามีไม่เพียงพอ เป็นปัญหาอุปสรรคในการทํานามาก กว่าจะปลูกได้ กรมการข้าวช่วยปรับปรุง ดินให้เหมาะสมโดยเอาปุ๋ยพืชสดมาใส่ นําข้าวพันธุ์น้ํารูมาปลูกเมื่อก่อนต้องซื้อข้าวกินเอง ทางครอบครัวมีอาชีพ รับจ้างหาเช้ากินค่ํา วันไหนไม่มีงานก็ไม่มีเงินซื้อข้าวให้กิน ตอนที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จมาเมื่อปี2549ท่านจะบอกชาวบ้านทุกคนที่เข้าเฝ้าว่าป่ามคีวามสําคัญมากถ้า ป่าสมบูรณ์ เราก็จะมีกินมีใช้ใปตลอด ถ้าพวกหนูรักพระองค์ท่านก็ให้ช่วยกันรักษาป่า”นางสาวนาถอนงค์ ชนาทิพย์ กล่าวด้วยเสียงสั่นเครือพร้อมยกมือไหว้เหมือนชีวิตได้เกิดใหม่

เช่นเดียวกัน นายสมบูรณ์ ชนะกุลกําพล ราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า จาก อ.เทิง จ.เชียงราย ซึ่งเข้ามา อยู่อาศัยในโครงการฯเป็นกลุ่มแรกเช่นกัน โดยครอบครัวเขาได้รับการจัดสรรที่ดินทั้งสิ้น 20 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่เป็น ปลูกข้าวทํานาแบบขั้นบันได จํานวน 5 ไร่ ส่วนอีก 15 ไร่ปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ว่างเว้นจากทํานาก็มาปลูก พืชผักปลอดภัย ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ เช่นถั่วหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น ปลูกหมุนเวียนกันไป แต่ การทําเกษตรทุกอย่างจะไม่ใช่สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้นจะเน้นปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ “ตอนแรกที่เข้ามาพื้นที่แถบนี้เป็นภูเขาหัวดล้นทั้งหมด เราหกเมาช่วยหันปลูกป่า หลังไม้ที่ปลูกโตขึ้นก็มาปลูก กาแฟใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ กาแฟที่นี่รสชาติดีมาก ๆ ดีกว่าปลูกที่อื่น ๆ แม้จะเป้นพันธุ์เดียวกัน นอกจากทํานา ปลูกกาแฟแล้วยังปลูกผัก พอหน้าหนาวก็จะปลูกสตรอเบอรี่ด้วย”ราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่าคนเดิมเผย

ขณะที่ นายพิจิตร ขันคํา เจ้าหน้าที่ปฏิบัตงานโครงการพระราชดําริ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา ซึ่งรับผิดชอบโครงการพระราชดําริในพื้นที่จ.พะเยา กล่าวว่า ตนได้เข้ามารับผิดชอบโครงการบ้าน เล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดําริบ้านหนองห้ามาตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อปี 2545 และเข้ามาดูแลอย่างต่อเนื่องจนถึง ปัจจุบัน โดยนําข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองพันธุ์น้ํารูมาปลูก เนื่องจากมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสภาพภูมิอากาศ หลังได้นํามาทดสอบแล้วเป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีที่สุด เพื่อผลิตข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภคของชาวบ้านใน พื้นที่โครงการฯซึ่งมจีํานวน52คนจากทั้งหมด12ครอบครัวประกอบด้วย4ชนเผ่าได้แก่อาข่า4ครอบครัว ลาหู่ 4 ครอบครัว เย้า 2 ครอบครัว และกะเหรี่ยง 2 ครอบครัว

“กรมการข้าวโดยศูนย์เมล็ดข้าวพะเยาได้เข้าไปดําเนินกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวแบบนา ขั้นบันได จัดทําแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์น้ํา และสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกรในพื้นที่โครงการ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้แบบยั่งยืน เรียนรู้วิธีขยายพันธุ์ข้าวบนพื้นที่สูงแก่เกษตรกร เพื่อจะได้ขยายผลไปสู่ ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป จุดเด่นของข้าวพันธุ์นี้คือ เป็นข้าวไว่แสงอ่อน ๆ เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่สูงจาก ระดับน้ําทะเล (ปานกลางระหว่าง 1,000-1400 เมตร เป็นข้าวเจ้าพันธุ์เดียวที่ปลูกในพื้นที่จ.พะเยา ช่วงแรก ๆ ให้ผลผลิตอยู่ที่ 80-90 กิโลกรัม/ไร่ ปัจจุบันผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 380-390 กิโลกรัม/ไร่”นายพิจิตร ขันคํา กล่าว

ส่วนนายพรเทพ สีวันนา นักวิชาการเกษตรชํานาญการ กรมการข้าว กล่าวถึงโครงการบ้านเล็กในป่า ใหญ่ตามพระราชดําริว่าเป็นโครงการท่ีสมเด็จพระพันปีหลวงฯเคยมีพระกระแสรับสั่งว่า ในหลวงเป็นน้ํา ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ํา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าวพยายามสนับสนุน สืบทอดแนว พระปณิธาณของสมเด็จพระพันปีหลวง ที่จะสร้างความเข้มแข็ง โดยเฉพาะเกษตรกรกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อยู่ตามพื้นที่สูง โดยจะไม่ส่งเสริมให้เขาลงมาใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ แต่จะสร้างความเข้มแข็งในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม ให้เขามีพืชพันธุ์ ธัญญาหาร ตลอดจนข้าวที่เป็นปัจจัยในการบริโภค และการดําเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธ์ุเหล่านี้ให้มีความเข้มแข็ง

เพียงพอและพอมีพอกิน นอกจากนี้ยังได้พยายามสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้าน ชุมชน โดยใช้ลูกหลาน เกษตรกรในโครงการฯไปทําหน้าที่ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่หรือหมู่บ้านใกล้เคียงต่อไป

“จุดเด่นของโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ของ จังหวัดพะเยา มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นปัจจัยที่สําคัญที่ทําให้โครงการขับเคลื่อนได้ มีน้ําที่เพียงพอ มีอากาศที่เหมาะสมต่อการปลูกอันนี้เป็นปัจจัยหลัก ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม เราคงจะขยายเรื่ององค์ความรู้ตลอดเป็นนโยบายของทางกระทรวงรวมถึง กรมการข้าวเอง ที่จะสนับสนุนเครื่องมือ ให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ให้เค้ามีใจ มีการผลิตที่เหมาะสมสามารถทันกับต่อโลก ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง” นักวิชาการเกษตรชํานาญการ กรมการข้าว ผู้อํานวยการ กอ กรมการข้าว กล่าว

อธิบดีกรมการข้าว กล่าวถึงโครงการพระราชดําริในพ้ืนที่สูงว่า กรมการข้าวพร้อม สนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่สูง ไม่ว่าจะเป็นโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่หรือ โครงการอื่น ๆ ในถิ่นทุรกันดาร พยายามสนับสนุนโดยนําข้าวไร่ ข้าวเฉพาะถิ่น ไปให้พี่น้องในพื้นที่สูงได้มีข้าวไว้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง

ฤดูฝน บางพื้นที่พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่สูง ลําบาก ข้าวไม่เพียงพอ “วันนี้กองงานพระราชดําริได้ระดมคน ช่วยกัน จุดไหนที่เป็นข้อบกพร่อง จุดไหนที่พี่น้องเกษตรกรยังเข้าไม่ถึงเมล็ดพันธุ์ดี เราก็จะเข้าไปช่วยกัน ก็ฝากพี่น้อง สื่อมวลชนได้ประชาสัมพันธ์กรมการข้าวพร้อมแล้วพร้อมจะอํานวยความสะดวกให้พี่น้องเกษตรกรทุกที่โดยผา่น ศูนย์ข้าวชุมชน และกลุ่มนาแปลงใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ นวัตกรรมต่าง ๆ กรมการข้าว จะสนับสนุนพี่น้องเกษตรกรอย่างเต็มที่”อธิบดีกรมการข้าวกล่าวย้ําทิ้งท้าย