ปลัดเกษตรฯ นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ขับเคลื่อนงานปฏิรูปที่ดิน อย่างต่อเนื่องเพื่อเกษตรกร

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ครั้งที่ 4/2566 โดยมีนายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมไชยยงค์ ชูชาติ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ถ.ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ว่าการประชุมในวันนี้ ที่ประชุม คปก.
ให้ความเห็นชอบหลักการแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สาหรับกิจการ
ที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เนื่องจากระเบียบ คปก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการอนุญาตและการให้ผู้รับอนุญาตถือปฏิบัติในการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สาหรับกิจการที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2541 ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเพื่อรองรับกรณีผู้ได้รับอนุญาตรายเดิม
ไม่ประสงค์จะทำประโยชน์ในที่ดินหรือถึงแก่ความตาย และมีคู่สมรส บุตร หรือ เครือญาติ หรือทายาทมายื่นคำขออนุญาตไว้
เป็นการเฉพาะ รวมทั้งยังไม่มีหลักเกณฑ์รองรับการจัดการทรัพย์สินหรือหนี้สินของผู้ได้รับอนุญาตที่เกิดขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย
ในระหว่างการใช้ประโยชน์ในที่ดินก่อนการสละสิทธิหรือถึงแก่ความตาย

นอกจากนี้ ยังได้อนุมัติแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงิน 4,010 ล้านบาท เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาผู้ไร้ที่ดินทำกิน พัฒนาศักยภาพพื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล พัฒนาโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ร่วมกัน พร้อมกันนี้ยังได้อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้าสำรวจก่อสร้าง หรือดำเนินการใด ๆ เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ
อันเป็นกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ในเขตปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่รวมประมาณ 1,537-3-04 ไร่ และโครงการก่อสร้างทางรถไฟ
สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม เนื้อที่รวมประมาณ 1,917-3-75 ไร่ เป็นระยะเวลาหนึ่งปี โดย รฟท.
จะดำเนินการในพื้นที่ต่าง ๆ โดยแบ่งเป็นช่วงหรือระยะเวลาที่มีการเยียวยาหรือจ่ายค่าชดเชยเกษตรกรแล้ว และในการออกหนังสืออนุญาตหรือให้ความยินยอมจะนำเสนอ คปก. พิจารณาอนุญาตตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป และในส่วนการเก็บค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเก็บค่าหลักประกันเป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่ ส.ป.ก. กำหนด

            ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังได้รับทราบ 1) ผลการดำเนินงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
2) ผลการดำเนินงานกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 3) รายงานความก้าวหน้าผล
การอนุมัติและเบิกจ่ายเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามโครงการพัฒนาแปลงที่ดินที่ได้จากการยึดคืนพื้นที่ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 36/2559 4) แผนปฏิบัติราชการของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) (ฉบับทบทวน) และแผนปฏิบัติการประจำปีบัญชี 2567
5) แผนปฏิบัติราชการของกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ด้านพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) (ฉบับทบทวน) และแผนปฏิบัติการประจำปีบัญชี 2567 และ 6) แผนขับเคลื่อนการดำเนินงานในการขยายระยะเวลา
การยื่นคำขอรับการจัดที่ดิน กรณีเกษตรกรเสียชีวิตเพื่อให้ทายาทเกษตรกรยื่นคำขอรับมรดกหรือการจัดที่ดินแทนที่อีกด้วย