Skip to content
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง
+แม่น้ำสายหลัก ภาคเหนือ ภาคใต้ น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาคกลาง น้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มทรงตัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มลดลง - ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 38,668 ล้าน ลบ.ม. (47%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 34,113 ล้าน ลบ.ม. (47%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 7 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 2 แห่ง (อ่างฯน้ำพุง อ่างฯจุฬาภรณ์)
- จากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน กอนช. ได้ประเมินสถานการณ์น้ำหลากจากฝนคาดการณ์ ร่วมกับปริมาณน้ำในลำน้ำและอ่างเก็บน้ำ พบว่า มีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังอุทกภัย ในช่วงวันที่ 30 ก.ค. – 5 ส.ค.64 ดังนี้
- เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม ในพื้นที่ จ.ตาก แม่ฮ่องสอน น่านเชียงใหม่ กาญจนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา กระบี่ และตรัง
- เฝ้าระวังระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ล้นตลิ่งและท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณห้วยแม่ตื่น จ.เชียงใหม่ ลำน้ำว้า จ.น่าน แม่น้ำยวม จ.แม่ฮ่องสอน แม่น้ำเมย จ.ตาก ลำน้ำแควน้อย จ.พิษณุโลก แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำบางปะกง จ.ปราจีนบุรี คลองวังโตนด แม่น้ำจันทบุรี คลองฉมัน จ.จันทบุรี แม่น้ำตราด จ.ตราด คลองหลังสวน จ.ชุมพร คลองหาดส้มแป้น จ.ระนอง และคลองตะกั่วป่า จ.พังงา
- เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมาก ในพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักได้แก่ อ่างฯทับลาน จ.ปราจีนบุรี อ่างฯบ้านมะนาว อ่างฯด่านชุมพล อ่างฯห้วยแร้ง อ่างฯคลองสะพานหิน จ.ตราด อ่างฯห้วยสงสัย จ.เพชรบุรี อ่างฯคลองหาดส้มแป้น จ.ระนอง และอ่างฯคลองแห้ง จ.กระบี่
ทั้งนี้ กอนช. ขอให้หน่วยงานติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ แผนเผชิญเหตุ พิจารณาบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมาก พร้อมแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบรับทราบต่อไป