สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 ก.ค. 64

  • ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
  • แม่น้ำสายหลัก ภาคตะวันออก และแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มลดลง
  • ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 37,545 ล้าน ลบ.ม. (46%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 33,013 ล้าน ลบ.ม. (46%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 7 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 2 แห่ง (อ่างฯน้ำพุง และจุฬาภรณ์)
  • กอนช.ประกาศ เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ฉบับที่ 5/2564 วันที่ 27 ก.ค.64
     เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน สระแก้ว จันทบุรี ตราด กาญจนบุรี เพชรบุรี ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
     ระวังระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณ
    ลุ่มต่ำ
  • ภาคเหนือ บริเวณห้วยแม่ตื่น อ.ออมก๋อย จ.เชียงใหม่
    ลำน้ำว้า อ.เชียงกลาง จ.น่าน แม่น้ำยวม อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แม่น้ำเมย อ.แม่ระมาด จ.ตาก และลำน้ำแควน้อย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณลำน้ำยัง อ.เสลภูมิ
    จ.ร้อยเอ็ด
  • ภาคตะวันออก บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี อ.กบินทร์บุรี
    จ.ปราจีนบุรี
    ขอให้หน่วยงานเตรียมความพร้อมรับมือ ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างใกล้ชิด เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ และประชาสัมพันธ์
    แจ้งเตือนสถานการณ์ให้ประชาชนได้รับทราบ
  • กอนช. ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเนื่องจากฝนตกหนักหลายพื้นที่ สถานการณ์น้ำในแม่น้ำยัง ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด ที่ได้รับอิทธิพลของพายุ “เจิมปากา” บริเวณบ้านท่างาม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด น้ำเริ่มล้นตลิ่งมีน้ำท่วมที่ลุ่มต่ำริมตลิ่งไม่กระทบต่อพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน โดยกรมชลประทาน ดำเนินการ ดังนี้
     ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้นำท้องถิ่น เพื่อประชาสัมพันธ์
    แจ้งให้ประชาชนในพื้นที่ทราบถึงสถานการณ์
     เตรียมพร้อมติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 16 เครื่อง บริเวณสะพาน
    บ้านค้อเหนือ
     ตัดยอดน้ำผ่าน ปตร.บุ่งเบ้าเข้าสู่ลำห้วยวังหลวงในอัตรา 10 ลบ.ม./วินาที มีการหน่วงน้ำในแม่น้ำชีไว้ที่เขื่อนร้อยเอ็ด
     เพิ่มการระบายน้ำที่เขื่อนยโสธร ทำให้การระบายน้ำจากลำน้ำยังไหลลงสู่แม่น้ำชีเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว หากไม่มีฝนตกหนักลงมาเพิ่ม ระดับน้ำจะเริ่มทรงตัวและเริ่มลดลงคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติในระยะต่อไป
    กอนช. ขอให้หน่วยงานเตรียมความพร้อมรับมือ ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างใกล้ชิด
  • สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี คาดการณ์ว่าระดับน้ำมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยวันที่ 31 ก.ค. 64 ระดับน้ำอยู่ที่ 11.90 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 2.60 ม.)
    กอนช. จะติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงอย่างใกล้ชิด หากมีสถานการณ์เปลี่ยนแปลงจะได้แจ้งให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น