สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 มิ.ย. 64

  • ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • แม่น้ำสายหลัก ภาคตะวันออก มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มทรงตัว ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคกลาง มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มลดลง สำหรับแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มลดลง
  • ปริมาณน้ำแหล่งน้ำทุกขนาด 37,006 ล้าน ลบ.ม. (45%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 32,397 ล้าน ลบ.ม. (45%) ปริมาณน้ำไหลเข้าแหล่งน้ำ 74.83 ล้าน ลบ.ม.น้ำระบาย 100.93 ล้าน ลบ.ม. เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 8 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 1 แห่ง (อ่างฯหนองปลาไหล)
  • จากอิทธิพลของพายุ “โคะงุมะ” ตั้งแต่วันที่ 9-20 มิ.ย. 64 ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักและในแหล่งน้ำต่างๆ เพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ โดยเฉพาะเขื่อนขนาดใหญ่ ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นรวม 1,393 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งสูงสุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 567 ล้าน ลบ.ม. ภาคเหนือ 355 ล้าน ลบ.ม. และภาคตะวันตก 269 ล้าน ลบ.ม. แต่ในภาพรวมสถานการณ์น้ำทั้งประเทศยังคงมีปริมาณน้ำน้อย โดยเฉพาะแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุ จำนวน 8 แห่ง อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นต้น
    พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ
    กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้มีข้อสั่งการให้เร่งเก็บกักน้ำในทุกรูปแบบ
    ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยกันวางแผนจัดสรรน้ำฤดูฝนนี้อย่างเคร่งครัดไม่ให้ผลผลิตของเกษตรกรได้รับผลกระทบ รวมถึงกิจกรรมการใช้น้ำส่วนอื่นๆ และสำรองน้ำไว้ในฤดูแล้งหน้าด้วย ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับ
    ทุกภาคส่วนในการจัดรอบเวร การประหยัดน้ำ รวมถึงมาตรการอื่นๆ ที่ต้องบูรณาการร่วมกันไม่เพียงแต่การจัดการน้ำเพียงอย่างเดียว
    ทั้งนี้ กอนช.จะติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์และบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ