สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 16 มิ.ย. 64

  • ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ
  • แม่น้ำสายหลัก ภาคเหนือ มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มทรงตัว และภาคกลาง มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มลดลง สำหรับแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • ปริมาณน้ำแหล่งน้ำทุกขนาด 37,015 ล้าน ลบ.ม. (45%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 32,382 ล้าน ลบ.ม. (45%) ปริมาณน้ำไหลเข้าแหล่งน้ำ 110.40 ล้าน ลบ.ม.น้ำระบาย 100.21 ล้าน ลบ.ม. เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 8 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 1 แห่ง (อ่างฯหนองปลาไหล)
    สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำน่าน เวียงสา จ.น่าน แนวโน้มลดลง
  • กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน “โคะงุมะ” ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 13-15 มิ.ย. 64 และทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำรวม 331 ล้าน ลบ.ม. ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกได้ ดังนี้
     ภาคเหนือ น้ำไหลเข้าอ่างฯ สะสม 49 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯ สิริกิติ์
    จ.อุตรดิตถ์ 36 ล้าน ลบ.ม.
     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ น้ำไหลเข้าอ่างฯสะสม 185 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯ ลำปาว จ.กาฬสินธุ์ 48 ล้าน ลบ.ม.
     ภาคตะวันออก น้ำไหลเข้าอ่างฯสะสม 7 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่
    อ่างฯ นฤบดินทรจินดา จ. ปราจีนบุรี 3 ล้าน ลบ.ม.
     ภาคกลาง น้ำไหลเข้าอ่างฯสะสม 3 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯ ป่าสัก
    ชลสิทธิ์ จ.ลพบุรีและสระบุรี 2 ล้าน ลบ.ม.
     ภาคตะวันตก น้ำไหลเข้าอ่างฯสะสม 47 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่
    อ่างฯ วชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี 31 ล้าน ลบ.ม.
     ภาคใต้น้ำไหลเข้าอ่างฯสะสม 40 ล้าน ลบ.ม. มากสุดที่อ่างฯ รัชชประภา
    จ.สุราษฎร์ธานี 30 ล้าน ลบ.ม
    กอนช. เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานบูรณาการเตรียมความพร้อมตาม 10 มาตรการ เพื่อรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝนนี้