เกษตรฯจัดสรรโควตาสิทธิ์และพื้นที่จำหน่ายนมโรงเรียนปีการศึกษา 2564
กระทรวงเกษตรฯ จัดสรรโควตาสิทธิและพื้นที่จำหน่ายนมโรงเรียน ปีการศึกษา 2564 พร้อมกำชับแนวทางการจัดส่งนมโรงเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่
นายระพีภัทร์
จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน
ครั้งที่ 6/2564 ผ่านระบบ VDO
Conference (Zoom)
ณ ห้องประชุม 135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการจัดสรรสิทธิและพื้นที่การจำหน่ายนมในโครงการอาหารเสริม
(นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2564
ซึ่งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนระดับกลุ่มพื้นที่ (5 กลุ่ม)
ได้ดำเนินการรับสมัครผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมเข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม)
โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2564
พร้อมทั้งดำเนินการจัดสรรสิทธิและพื้นที่จำหน่ายนมโรงเรียนในโครงการอาหารเสริม
(นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2564
เรียบร้อยแล้ว โดยมีผู้ประกอบการที่ยื่นไม่เกิน 5 ตัน/วัน จำนวน 48 ราย
แบ่งเป็นผู้ประกอบการรายเก่า 25 ราย และรายใหม่จำนวน 23 ราย
นอกจากนี้
ที่ประชุมยังได้เห็นชอบในหลักการจัดส่งนมโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2564 ดังนี้
1) ปีการศึกษา 2564 ให้เด็กนักเรียนดื่มนมครบ 260 วัน 2)
การกำหนดชนิดนมโรงเรียน ให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ ดำเนินงานโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน ประจำปีการศึกษา
2564 โดยแบ่งเป็นช่วงเปิดภาคเรียน (นมพาสเจอร์ไรส์ และ/หรือนมยู เอช ที)
และช่วงปิดภาคเรียน (เฉพาะนม ยู เอช ที) และ 3)
ผู้ประกอบการที่ได้รับการจัดสรรสิทธิตกลงกับหน่วยจัดซื้อ/โรงเรียนทุกแห่ง
เพื่อกำหนดชนิดนมโรงเรียนที่ต้องการซื้อแล้วแต่กรณี
หากมีปัญหาในการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา
2564
ให้เป็นอำนาจของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนระดับกลุ่มพื้นที่
(5 กลุ่ม) พิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
ขณะเดียวกัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งมีผลกระทบต่อโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ 1) กรณีผู้ประกอบการที่ได้รับจัดสรรสิทธิตกลงกับหน่วยจัดซื้อ/โรงเรียนทุกแห่ง และกำหนดชนิดนมโรงเรียนที่ต้องการจัดซื้อนมเป็น นม ยู เอช ที สามารถดำเนินการได้โดยบริหารงบประมาณที่ได้รับจัดสรรหรือสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม แต่หากหน่วยจัดซื้อมีงบประมาณไม่เพียงพอหรือไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมได้ และผู้ประกอบการยินยอมลดราคานม ยู เอช ที ให้อยู่ภายในวงเงินงบประมาณที่หน่วยจัดซื้อมี สามารถดำเนินการได้ เพื่อให้เด็กได้ดื่มนมครบ 260 วัน ต่อปีการศึกษา 2) กรณีที่ผู้ประกอบการและหน่วยจัดซื้อ/โรงเรียนทุกแห่ง ได้ตกลงกันจะขอส่งเป็นนมชนิดพาสเจอไรส์ ซึ่งในการตกลงดังกล่าว คู่สัญญาต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์นมขณะขนส่งและการเก็บรักษาคุณภาพนมชนิดพาสเจอไรส์ ที่ต้องรักษาไว้ไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส และจัดส่งผลิตภัณฑ์นม ให้หน่วยจัดซื้อ/โรงเรียน วันเว้นวัน หรือ วันเว้น 2 วัน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้การบริหารจัดการรับส่งนมโรงเรียนให้เด็กนักเรียนหรือผู้ปกครอง ให้ยึดตามมาตรการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และ 3) กรณีในช่วงที่มีการเลื่อนเวลาการเปิดภาคเรียน จากวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ออกไป และไม่มีการจัดการเรียนการสอน ในวันที่ปิดเรียนนั้น หน่วยจัดซื้อ/โรงเรียนทุกแห่ง สามารถตกลงกับผู้ประกอบการ โดยนำส่งนมชนิด ยู เอช ที เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ดื่มนมสำหรับวันปิดเรียนครบ 60 วัน ต่อปีการศึกษาอีกด้วย.
พร้อมกำชับแนวทางการจัดส่งนมโรงเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่
นายระพีภัทร์
จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน
ครั้งที่ 6/2564 ผ่านระบบ VDO
Conference (Zoom)
ณ ห้องประชุม 135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการจัดสรรสิทธิและพื้นที่การจำหน่ายนมในโครงการอาหารเสริม
(นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2564
ซึ่งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนระดับกลุ่มพื้นที่ (5 กลุ่ม)
ได้ดำเนินการรับสมัครผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมเข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม)
โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2564
พร้อมทั้งดำเนินการจัดสรรสิทธิและพื้นที่จำหน่ายนมโรงเรียนในโครงการอาหารเสริม
(นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2564
เรียบร้อยแล้ว โดยมีผู้ประกอบการที่ยื่นไม่เกิน 5 ตัน/วัน จำนวน 48 ราย
แบ่งเป็นผู้ประกอบการรายเก่า 25 ราย และรายใหม่จำนวน 23 ราย
นอกจากนี้
ที่ประชุมยังได้เห็นชอบในหลักการจัดส่งนมโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2564 ดังนี้
1) ปีการศึกษา 2564 ให้เด็กนักเรียนดื่มนมครบ 260 วัน 2)
การกำหนดชนิดนมโรงเรียน ให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ ดำเนินงานโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน ประจำปีการศึกษา
2564 โดยแบ่งเป็นช่วงเปิดภาคเรียน (นมพาสเจอร์ไรส์ และ/หรือนมยู เอช ที)
และช่วงปิดภาคเรียน (เฉพาะนม ยู เอช ที) และ 3)
ผู้ประกอบการที่ได้รับการจัดสรรสิทธิตกลงกับหน่วยจัดซื้อ/โรงเรียนทุกแห่ง
เพื่อกำหนดชนิดนมโรงเรียนที่ต้องการซื้อแล้วแต่กรณี
หากมีปัญหาในการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา
2564
ให้เป็นอำนาจของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนระดับกลุ่มพื้นที่
(5 กลุ่ม) พิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
ขณะเดียวกัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งมีผลกระทบต่อโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ 1) กรณีผู้ประกอบการที่ได้รับจัดสรรสิทธิตกลงกับหน่วยจัดซื้อ/โรงเรียนทุกแห่ง และกำหนดชนิดนมโรงเรียนที่ต้องการจัดซื้อนมเป็น นม ยู เอช ที สามารถดำเนินการได้โดยบริหารงบประมาณที่ได้รับจัดสรรหรือสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม แต่หากหน่วยจัดซื้อมีงบประมาณไม่เพียงพอหรือไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมได้ และผู้ประกอบการยินยอมลดราคานม ยู เอช ที ให้อยู่ภายในวงเงินงบประมาณที่หน่วยจัดซื้อมี สามารถดำเนินการได้ เพื่อให้เด็กได้ดื่มนมครบ 260 วัน ต่อปีการศึกษา 2) กรณีที่ผู้ประกอบการและหน่วยจัดซื้อ/โรงเรียนทุกแห่ง ได้ตกลงกันจะขอส่งเป็นนมชนิดพาสเจอไรส์ ซึ่งในการตกลงดังกล่าว คู่สัญญาต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์นมขณะขนส่งและการเก็บรักษาคุณภาพนมชนิดพาสเจอไรส์ ที่ต้องรักษาไว้ไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส และจัดส่งผลิตภัณฑ์นม ให้หน่วยจัดซื้อ/โรงเรียน วันเว้นวัน หรือ วันเว้น 2 วัน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้การบริหารจัดการรับส่งนมโรงเรียนให้เด็กนักเรียนหรือผู้ปกครอง ให้ยึดตามมาตรการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และ 3) กรณีในช่วงที่มีการเลื่อนเวลาการเปิดภาคเรียน จากวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ออกไป และไม่มีการจัดการเรียนการสอน ในวันที่ปิดเรียนนั้น หน่วยจัดซื้อ/โรงเรียนทุกแห่ง สามารถตกลงกับผู้ประกอบการ โดยนำส่งนมชนิด ยู เอช ที เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ดื่มนมสำหรับวันปิดเรียนครบ 60 วัน ต่อปีการศึกษาอีกด้วย.