สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 พ.ค. 64

  • ประเทศไทยตอนบนฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ตอนล่าง
  • แม่น้ำสายหลัก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มลดลง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีน้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มทรงตัว สำหรับแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มทรงตัว
  • ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำทุกขนาด 38,396 ล้าน ลบ.ม. (47%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 33,634 ล้าน ลบ.ม. (47%) เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 8 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 2 แห่ง (อ่างฯลำตะคอง และอ่างฯหนองปลาไหล)
  • กอนช. ติดตามการแก้ไขปัญหา “ประชาชนในพื้นที่ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำประปามีรสเค็ม” โดยการประปาส่วนภูมิภาคได้ประสานกรมชลประทานดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการปรับเพิ่มการระบายน้ำจาก 6 เขื่อนหลักเพื่อเจือจางค่าคลอไรด์ในแม่น้ำชี บริเวณหน้าเขื่อนร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นจุดสูบน้ำดิบของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาร้อยเอ็ด ดังนี้
  • เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เพิ่มการระบายน้ำจากเดิมวันละ 1.1
    ล้าน ลบ.ม. เป็นวันละ 3 ล้าน ลบ.ม.เพื่อช่วยเติมน้ำลงลำน้ำพองและไหลไปลงแม่น้ำชีที่หน้าเขื่อนมหาสารคาม
  • เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ เพิ่มการระบายน้ำเป็นวันละ 0.10 ล้าน ลบ.ม.
  • เขื่อนในแม่น้ำชี ตั้งแต่เขื่อนชนบท จ.ขอนแก่น เพิ่มการระบายน้ำเป็นวันละ 0.24 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนมหาสารคาม เพิ่มการระบายน้ำเป็นวันละ 3.10 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนวังยาง จ.กาฬสินธุ์ เพิ่มการระบายน้ำเป็นวันละ 3.86 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนร้อยเอ็ด ระบายน้ำวันละ 4.21 ล้าน ลบ.ม. และรักษาระดับน้ำเก็บกักเขื่อนร้อยเอ็ด ไว้ที่ +129.500 เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับระบบสูบจ่ายน้ำดิบ
  • กอนช. มอบหมายให้หน่วยงานช่วยเหลือพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และเตรียมรับมืออุทกภัย โดย กรมเจ้าท่า ขุดลอกลำน้ำคาว ต.แม่อ้อ อ.พาน จ.เชียงราย ระยะทาง 2,400 เมตร เพื่อเพิ่มความกว้างและความลึกของร่องน้ำ เพิ่มพื้นที่ในการกักเก็บน้ำ แก้ไขปัญหาการกัดเซาะตลิ่ง รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง โดยสนับสนุนน้ำให้แก่ ประปาหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง พื้นที่เกษตรกรรม 2,530 ไร่ และใช้น้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค จำนวน 456 ครัวเรือน