สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 23 เม.ย. 64

  • ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคใต้
  • แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มลดลง ส่วนแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มทรงตัว
  • ปริมาณน้ำใช้การ แหล่งน้ำทุกขนาด 14,961 ล้าน ลบ.ม. (26%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 10,667 ล้าน ลบ.ม. (22%) เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 12 แห่ง
  • คุณภาพน้ำ ณ จุดเฝ้าระวังน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี ค่าความเค็ม อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนน้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เกินเกณฑ์มาตรฐาน บริเวณปากแม่น้ำ
  • พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ติดตามรายงานการคาดการณ์ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ โดย กอนช. ณ วันที่ 1 พ.ค. 64 จะมีปริมาณน้ำ 34,029 ล้าน ลบ.ม. (ร้อยละ 48 ของความจุ) ปริมาณน้ำใช้การ 10,371 ล้าน ลบ.ม. (ร้อยละ 22 ของความจุใช้การ) โดยในช่วงเดือน ก.ค.–ส.ค.64 ฝนจะลดลงและมีบางพื้นที่มีฝนตกน้อยกว่าค่าปกติเดือน ก.ค.64 มีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ จำนวน 236 อำเภอ 1,504 ตำบล ใน 29 จังหวัด และพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค 5,356 หมู่บ้าน ใน 61 จังหวัด รวมทั้งมีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในช่วงเดือน พ.ค.- ก.ย.64 ดังนี้-พฤษภาคม จำนวน 254 ตำบล 59 อำเภอ ใน 20 จังหวัด
    -มิถุนายน จำนวน 155 ตำบล 79 อำเภอ ใน 27 จังหวัด
    -กรกฎาคม จำนวน 396 ตำบล 131 อำเภอ ใน 36 จังหวัด
    -สิงหาคม จำนวน 538 ตำบล 170 อำเภอ ใน 40 จังหวัด
    -กันยายน จำนวน 1,012 ตำบล 290 อำเภอ ใน 56 จังหวัด
    ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่ดูแลบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำทุกประเภท เร่งเก็บกักน้ำในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. 64 ให้ได้มากที่สุด ตลอดจนการจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม พร้อมทั้งเร่งซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ให้พร้อมใช้งาน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนเป็นไปตามแผนที่กำหนด และส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด