Skip to content
- ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ สำหรับทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.พังงา (116 มม.) จ.อุบลราชธานี (95 มม.) จ.ราชบุรี (54 มม.)
- แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มทรงตัวถึงเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มทรงตัว
- ปริมาณน้ำใช้การ แหล่งน้ำทุกขนาด 15,127 ล้าน ลบ.ม. (26%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 11,810 ล้าน ลบ.ม. (23%) เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 12 แห่ง
- คุณภาพน้ำ ณ จุดเฝ้าระวังน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี ค่าความเค็ม อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนน้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน บริเวณปากแม่น้ำ
- พลเอก ประวิตร ย้ำเตรียมแผนรับฝนต้นฤดูเร่งเก็บกักน้ำในทุกแหล่ง หลัง กอนช.ประเมิน ก.ค.-ส.ค.ฝนจะน้อย
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สั่งการสทนช.ประสานหน่วยงานและท้องถิ่น เร่งสำรวจความพร้อมทุกแหล่งเก็บน้ำ พร้อมรองรับน้ำฝนช่วงตกชุก เม.ย.- มิ.ย.นี้ เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ หลัง กอนช.ประเมินมีแนวโน้มฝนลดลงในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. จึงได้ให้หน่วยงานเตรียมดำเนินการ ดังนี้ - มอบ สทนช. ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) ประเมินสถานการณ์ปริมาณฝนอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้สำหรับวางแผนบริหารจัดการน้ำต้นทุนให้เพียงพอในทุกกิจกรรม ลดผลกระทบที่อาจจะเกิดจากการขาดแคลนน้ำ
- มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ตามลำดับความสำคัญของความต้องการใช้น้ำ 4 กิจกรรมหลัก แบ่งเป็น 1) การอุปโภค–บริโภค 2) การรักษาระบบนิเวศ 3) การเกษตรกรรม 4) การอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ กอนช. ได้เตรียมรับมือสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศภายใต้ 10 มาตรการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝนปี 2564 เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ ขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการเตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบโดยเร็วก่อนเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือน พ.ค. นี้อย่างเป็นทางการต่อไป