Skip to content
- ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
- แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มลดลง
- ปริมาณน้ำใช้การ แหล่งน้ำทุกขนาด 15,279 ล้าน ลบ.ม. (27%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 10,950 ล้าน ลบ.ม. (23) เฝ้าระวังน้ำน้อยแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 12 แห่ง
- ค่าความเค็ม แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และแม่น้ำบางปะกง
ค่าความเค็ม สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน - กอนช. มอบหมายกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ร่วมกันคาดการณ์ปริมาณฝน ปี 2564 พบว่าปริมาณฝนจะมากกว่าสภาวะปกติตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน และประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนเดือนพฤษภาคม แต่ในช่วงเดือนกรกฏาคม ปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยจึงอาจเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ จึงต้องบริหารจัดการน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่ส่วนใหญ่ยังมีปริมาณน้ำน้อยติดต่อกัน 4 ปี
ปัจจุบันมีเขื่อนที่ต้องเฝ้าระวัง ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่า 30% จำนวน 18 แห่ง ทั่วประเทศ โดยภาพรวมการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูแล้งปี 2563/64 มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค ไปจนสิ้นฤดูแล้ง
กอนช. ได้ประเมินน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ณ วันที่ 1 พ.ค.64 พบอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ยังคงต้องเฝ้าระวัง จำนวน 9 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำใช้การต่ำกว่า 15% ของความจุอ่าง ดังนี้ เขื่อนกระเสียว (6%) คลองสียัด (6%) ภูมิพล (7%) แม่งัดฯ (9%) วชิราลงกรณ (9%) ลำปาว (9%) แม่กวง (10%) สิริกิติ์ (10%) และเขื่อนป่าสักฯ (11%)
ดังนั้น ก่อนเข้าฤดูฝนนี้ กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์และเป็นไปตามแผนอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอไปจนสิ้นสุดฤดูแล้ง