สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 16 เม.ย.64

  • ทุกภาคมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 16 – 19 เม.ย. 64 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
  • แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มลดลง
  • ปริมาณน้ำใช้การ แหล่งน้ำทุกขนาด 15,356 ล้าน ลบ.ม. (27%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 11,019 ล้าน ลบ.ม. (24) เฝ้าระวังน้ำน้อยแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 12 แห่ง
  • ค่าความเค็ม แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และแม่น้ำบางปะกง
    ค่าความเค็ม สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  • สทนช.ประชุมหารือหน่วยเกี่ยวข้อง และภาคประชาชน หารือแผนแก้ไขน้ำเค็มรุกใน 4 ลุ่มน้ำติดอ่าวไทย ระยะสั้น-กลาง-ยาว โดยตั้งเป้ากรอบแนวทางเสนอรัฐบาลภายใน 90 วัน คาดลดปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อใช้เจือจางน้ำเค็มในแต่ละปี หลังพบข้อมูลการรุกตัวน้ำเค็มเข้าแผ่นดินเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
    จากการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำแนวทางการแก้ปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็ม น้ำท่วม และน้ำแล้งในลุ่มน้ำติดอ่าวไทย ครั้งที่ 1/2564 เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็ม น้ำท่วม และน้ำแล้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและรอบอ่าวไทย
    โดยระยะแรกของโรดแมปการทำงานของคณะอนุกรรมการฯ
    ที่ประชุมได้รวบรวมข้อคิดเห็น ข้อมูลประสบการณ์ การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการรุกตัวน้ำเค็ม น้ำท่วม น้ำแล้ง พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เพื่อให้ได้ความชัดเจนถึงผลกระทบในแต่ละลำน้ำ
    ที่มีความแตกต่างกัน การกำหนดจุดสถานีวัดน้ำเค็มที่จะเป็นสถานีหลักในการติดตามเฝ้าระวัง ก่อนนำมาใช้เป็นข้อมูลคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ ความรุนแรงของปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเสนอแนวทางมาตรการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว โดยจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่ระบุประเด็นสำคัญ และกรอบแนวทางการในการศึกษา และร่างเงื่อนไขและขอบเขตการศึกษา (TOR) การแก้ไขปัญหาการรุกตัวน้ำเค็ม น้ำท่วม น้ำแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง (ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำท่าจีน ลุ่มน้ำบางปะกงตอนล่าง และลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่าง) ให้แล้วเสร็จในระยะเวลา 90 วัน เพื่อสรุปรายงานต่อพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ให้ความเห็นชอบ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป